ภาพแอนิเมชันเกิดจากการนำภาพนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายหรือภาพวาด
มาจัดวางต่อเนื่องกันทีละภาพเป็นชุดลำดับของภาพนิ่ง
เป็นการนำภาพนิ่งหลายๆภาพ มาลำดับกันอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ปรากฏเป็นการเคลื่อนไหวบนแผ่นระนาบ(จอภาพ หรือแผ่นกระดาษ)
เป็นปรากฏการภาพติดตา Persistence of Vision
คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้าง ลำดับภาพเคลื่อนไหว สร้างภาพกราฟิกทีละภาพ(หรือเรียกว่า “เฟรม”) วัตถุแต่ละเฟรมมีการเปลี่ยนแปลงของ “ตัวแปร” ทีละน้อย
หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือ สตอปโมชัน (stop motion) เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็วตั้งแต่ 16 เฟรม ต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน
ขั้นตอนในการสร้างแอนนิเมชัน
ไอเดีย (Idea) หรือบางคนอาจใช้คำว่า แรงบันดานใจ (Inspiration) ซึ่งจะเป็นสิ่งแรกที่เราสร้างสรรค์จินตนาการและความคิดว่า ผู้ชมของเราควรเป็นใคร อะไรที่เราต้องการให้ผู้ชมทราบ
โครงเรื่อง (Story) โครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ ฉาก ความคิด
สคริปต์(Script) เป็นขั้นตอนในการจับใจความสำคัญ ของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่ละฉาก พร้อมทั้งกำหนดมุมกล้อง เทคนิคพิเศษ รวมถึงระยะเวลาของการเคลื่อนไหวโดยให้รายละเอียดต่างๆ ในการวางแผนงานเพื่อเตรียมบุคลากรในด้านต่างๆ
สร้างภาพให้กับตัวละคร (Characters Design) ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบและกำหนดลักษณะนิสัย บุคล บทบาทต่างๆ และท่าทางการเคลื่อนไหวให้กับตัวละคร
โครงเรื่อง (Story) โครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ ฉาก ความคิด
สคริปต์(Script) เป็นขั้นตอนในการจับใจความสำคัญ ของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่ละฉาก พร้อมทั้งกำหนดมุมกล้อง เทคนิคพิเศษ รวมถึงระยะเวลาของการเคลื่อนไหวโดยให้รายละเอียดต่างๆ ในการวางแผนงานเพื่อเตรียมบุคลากรในด้านต่างๆ
สร้างภาพให้กับตัวละคร (Characters Design) ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบและกำหนดลักษณะนิสัย บุคล บทบาทต่างๆ และท่าทางการเคลื่อนไหวให้กับตัวละคร
บอร์ดภาพนิ่ง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า สตอรีบอร์ด (Storyboards) เป็นการใช้ภาพในการเล่าเรื่องให้ได้ครบถ้วน ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อารมณ์ในเหตุการณ์นั้นๆ สีหน้า ท่าทาง ลักษณะต่างๆ ของตัวละคร บอกถึงสถานที่ และมุมมองของภาพ ซึ่งภาพวาดทั้งหมดจะเรียงต่อเนื่องกันไปตามลำดับของเรื่องจากต้นจนจบ
บันทึกเสียง (Sound Recording) หลังจากที่ได้ออกแบบตัวละครและสร้างสตอรีบอร์ดเรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการอัดเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้อย่างยิ่ง บางสตูดิโออาจเริ่มต้นด้วยการอัดเสียงก่อน(Soundtrack) ซึ่งการอัดเสียงประกอบแอนิเมชั่น จะแยกออกเป็นประเภทของเสียงโดยหลักแล้วได้ดังนี้
1.เสียงบรรยาย(Narration) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจ เป็นการปูพื้นฐานให้กับผู้ชมว่าเรื่องเป็นอย่างไร และยังเป็นการเชื่อมโยงให้เรื่องราวติดต่อกันด้วย
2.บทสนทนา (Dialogue) เป็นหลักการหนึ่งในการสื่อเรื่องราวตามบทบาทของตัวละคร เป็นการสื่อความหมายให้ตรงกับเนื้อเรื่องที่สั้น กระชับ และสัมพันธ์กับภาพ
3.เสียงประกอบ (Sound Effects) เป็นเสียงที่นอกเหนือจากเพลง เสียงบรรยาย เสียงสนทนา ทำให้เกิดความรู้สึกสมจริง สมจัง มีจินตนาการ ราวกับได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ หรืสถานที่นั้นด้วย
4.ดนตรีประกอบ (Music) ช่วยสร้างอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามเนื้อหาและปรับอารมณ์ของผู้ชมระหว่างการเชื่อมต่อของฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่ง
ทำแอนิเมชั่น ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรมที่ใช้ทำการ์ตูนแอนิเมชั่นมากมายเช่น Flash, Toon Boom,3D Max, Maya ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น